ผลิตภัณฑ์ซีดี เป็นสื่อสำหรับบันทึกข้อมูล ซึ่งในระยะเริ่มแรกมีราคาแพงและเครื่องเล่นแผ่นซีดีก็มีราคาแพงจึงไม่เป็นที่นิยมของประชาชนมากนัก ต่อมาผู้ผลิตได้พัฒนาแผ่นซีดีให้มีราคาถูกลงมีคุณภาพสูงขึ้น ขนาดเล็กลง เครื่องเล่นแผ่นซีดีก็ราคาถูก ประชาชนจึงนิยมนำมาใช้บรรจุสื่อหลายชนิด มีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันทดแทนการใช้เทป วิดิโอเทป เนื่องจากสามารถบันทึกข้อมูล ภาพ เสียงได้เป็นจำนวนมาก มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงกว่าสามารถตอบสนองการใช้งานได้หลายประเภท เช่นภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และงานฐานข้อมูล เป็นต้น อุตสหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง มีกำลังการผลิตสูง โดยผลิตได้คราวละมากๆหากนำไปผลิตซีดีละเมิดลิขสิทธิ์จะส่งผลทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง จนอาจต้องยกเลิกกิจการ นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางให้ กลุ่มผู้มีอิทธิพลและองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติแสวงหาผลประโยชน์จาการกระทำดังกราว นำรายได้ ไปใช้ในการกระทำผิดกฎหมายชนิดอื่นๆได้ต่อไป

 

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.2548

โดยปัจจุบันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ซีดีได้ทวีความรุนแรงจนกระทั่งกลไกของรัฐบาลที่มีอยู่ไม่สามารถที่จะควบคุม หรือป้องกันปรามการละเมิดดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ จึงเห็นสมควรมีมาตรการกำกับดูแลผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี โดยการกำหนดขั้นตอนการแจ้งการผลิตสำหรับผู้ที่ประสงค์จะประกอบการผลิตการคอบครองเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ตลอดจนการรายงานปริมาณ และสถานที่เก็บวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตซึ่งมาตรการดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมกลไกการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบมากขึ้นรวมทั้งจะทำให้การจัดเก็บภาษีอากรได้ผลเต็มที่ ทั้งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีดำเนินการ ผลิตสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมายจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

อ้างอิง ผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี(กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์, 2559)