การระงับข้อพิพาท

     กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำได้ทำกระบวนการระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น เพื่อทางเลือกในการแก้ไขปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้น และอำนวยความสะดวกในการระงับข้อพิพาทให้แก่คู่พิพาทโดยใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ และไกร่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่พิพาททั้งสองฝ่ายในการช่วยยุติปัญาหาที่เกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม

ข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา

     ข้อพิพาทที่คู่พิพาทสามารถนำเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทได้ ได้แก่ ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท รวมถึงสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ผังภูมิ ของวงจรรวม ความลับความทางค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ชื่อทางการค้า และยังรวมถึงข้อพิพาทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สัญญาค่าตอบแทนจากการใช้ลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า ฯลฯ

ความแตกต่างระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและกระบวนการอนุโตตุลาการ

     - กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการเป็นผู้ไกล่เกลี่ยโดยคู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
     - กระบวนการอนุญาโตตุลาการ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนการพิจารณา ซึ่งกำหนดตามทุนทรัพย์ที่คู่พิพาทเรียกร้อง

ข้อดีของระบบไกล่เกลี่ย

สะดวก
     ขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาชี้ขาดไม่เข้มงวดเคร่งครัด หรือมีพิธีการยุ่งยากเหมือนการพิจารณาคดีในศาล

รวดเร็ว
     การพิจารณาใช้เวลาที่สั้นและรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับการพิจารณาคดีของศาล

ประหยัด
     คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายใดๆ

เป็นธรรม
     เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา จะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยทำได้รวดเร็วและเป็นธรรมแก่คู่พิพาท

พึงพอใจ
     คู่พิพาทที่เป็นคู่ค้าสามารถยุติข้อพิพาทได้และสามารถรักษาชื่อเสียง และความลับ ระหว่างกันได้เนื่องจากกระบวนการพิจารณาเป็นความลับ อีกทั้งสามารถรักษาความสัมพันธ์อัน ดีระหว่างกันไว้ได้ต่อไป เพราะคู่พิพาทไม่ต้องเผชิญหน้าต่อสู้กันเพื่อผลแพ้ชนะทางคดีเหมือนการ ดำเนินคดีในศาล

 

 

อ้างอิง
- การระงับข้อพิพาท. (2559). ค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://bit.ly/2GOHgzj